พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
พระกริ่งสิทธัตโ...
พระกริ่งสิทธัตโถรุ่นแรก๒๕o๘ พิมพ์แต่งสวยมากพร้อมกล่องเดิม
พระกริ่งสิทธัตโถ วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร มีการจัดสร้าง๕ครั้งคือ๒๕o๘,๒๕๑o,๒๕๑๒,๒๕๑๖,๒๕๑๗องค์นี้คือรุ่นแรก ๒๕o๘พิมพ์แต่งเดิมๆ สภาพสวยมาก หายากสุดๆ มาพร้อมกล่อง...สร้างขึ้นเมื่อปี ๒๕๐๘ โดย “พระธรรมวกลังการ วัดเพชรวราราม” จังหวัดเพชรบูรณ์เมื่อครั้งเป็น “พระมหาชลอ กิตติ สาโร” และจำพรรษาอยู่ที่ วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพฯ ท่านเป็นชาวบ้านหนองหลวงจังหวัดลพบุรี จึงมีเจตนาในการสร้างพระกริ่งเพื่อหาทุนไปพัฒนา วัดหนองหลวง โดยในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ได้เตรียมการสร้าง “พระกริ่งสิทธัตโถ” โดยมี พระครูสังฆบริรักษ์ (มโนรมย์ วีรญาโณ) คณะหอเขียว วัดบรมนิวาส เป็นผู้ช่วยเหลือในด้านพิธีกรรมต่าง ๆ แต่ไม่อาจสำเร็จได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วจึงได้แต่เตรียมการไว้ตลอดกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๕๐๘ จึงสำเร็จโดยได้มีหนังสือกราบทูล สมเด็จพระสังฆราช (อยู่) วัดสระเกศ ขอประทานชื่อพระกริ่งและฤกษ์เททองพร้อมกันด้วยซึ่ง สมเด็จพระสังฆราช (อยู่) วัดสระเกศ ประทานชื่อพระกริ่งที่สร้างว่า “พระกริ่งสิทธัตโถ” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้ประทาน ความสำเร็จ”

***การประกอบพิธีครั้งนั้นนับว่าเป็นพิธีมโหฬารทีเดียวเพราะมีการประกอบพิธีทั้งทาง “พุทธศาสตร์, พราหมณ์ศาสตร์, โหราศาสตร์ และ ไสยศาสตร์ ครบถ้วนถูกต้องตำราการสร้างพระกริ่งทุกประการ นอกจากนี้ยังได้อาราธนาพระคณาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษทางวิทยาคม และทางวิปัสสนาที่มีชื่อเสียง นั่งปรกปลุกเสก บริกรรมภาวนาถึง ๔๒ รูป นอกจากนี้ยังมีพระคณา จารย์ผู้ทรงคุณวิเศษทำการลง พระยันต์ ๑๐๘ และ นะปถมัง ๑๔ นะ ในแผ่นนวโลหะตามพิธี การสร้างพระกริ่งเพื่อให้องค์ “พระกริ่งสิทธัตโถ” นี้มีคุณานุภาพยิ่งขึ้นจึงได้นำแผ่นโลหะอีกส่วนหนึ่งถวายเจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราช, สมเด็จพระราชาคณะ และ พระมหาเถรานุเถระ ที่ล้วนแต่เป็นพระราชาคณะทั้งสิ้นรวม ๑๐๘ รูป ทรงลงอักขระเลขยันต์นอกจากนั้นพระอาจารย์เจ้าผู้ทรงคุณวิเศษ ในทางวิทยาคมอีกหลายรูป อาทิ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม และ หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม นครปฐมเป็นต้นพร้อมได้เมตตาลงอักขระเลขยันต์ ในแผ่นโลหะให้เป็นพิเศษอีกส่วนหนึ่งด้วยและอีกประการหนึ่งเพื่อให้องค์ “พระกริ่งสิทธัตโถ” มีคุณานุภาพเป็นพิเศษยิ่งขึ้นจึงได้เลือกประกอบพิธี พร้อมส่วนประกอบอื่น ๆ ที่เป็นสัญลักษณ์ในทางต่าง ๆ อีกดังนี้
----------------------------------------------

๑. นอกจากพระอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษทางวิทยาคมและทางวิปัสสนา ซึ่งมีจำนวนถึง ๔๒ รูป ดังกล่าวแล้วยังได้อาราธนาพระอาจารย์ผู้มีชื่อเป็นมงคลนามนั่งปรกปลุกเสกอีกดังนี้คือ หลวงพ่อมี, หลวงพ่อแก้ว, หลวงพ่อแหวน, หลวงพ่อเงิน, หลวงพ่อทอง, หลวงพ่อนาค ทั้งนี้เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นผู้มีโชคลาภแก้วแหวนเงินทองสำหรับผู้ที่มี “พระกริ่งสิทธัตโถ” ไว้สักการะ
-----------------------------------------------
๒. องค์ประธานในการเททองก็ดี พระสงฆ์ผู้เจริญชัยมงคลคาถาในเวลาเททองก็ดีล้วนแต่เป็น สมเด็จพระราชาคณะ และ พระราชาคณะที่เป็นเปรียญ ๙ ประโยค ทั้งสิ้นและวันที่สร้างพระกริ่งตรงกับวันขึ้น ๙ ค่ำ แล้วเริ่มแจกให้แก่ผู้สั่งจองในวันอาทิตย์ที่ ๙ พ.ค. ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๙ ค่ำเช่นกัน องค์พระกริ่งประทับนั่งบนบัลลังก์เหนือบัวคว่ำบัวหงาย ๙ กลีบ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ใน ทางก้าวหน้า ความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน ที่เป็น ไปโดยชอบธรรม
-----------------------------------------------
๓. ผู้ที่ลงอักขระเลขยันต์อีกส่วนหนึ่งที่นอก เหนือจากพระอาจารย์เจ้าผู้ทรงคุณวิเศษก็คือ สมเด็จพระสังฆราช, สมเด็จพระราชาคณะ และ พระมหาเถรานุเถระ ก็ล้วนแต่เป็น พระราชาคณะ ซึ่งเจริญด้วยยศศักดิ์ทั้งสิ้น รวม ๑๐๘ รูป ทั้งนี้เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรืองด้วยยศศักดิ์ พรั่งพร้อมด้วยทรัพย์สฤงคารและบริวารชนเป็นต้น
********
“พระกริ่งสิทธัตโถ” ทำการประกอบพิธีเททองหล่อเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๐๘ นั้น หลังจากตกแต่งเรียบร้อยแล้วได้จัดงานสมโภช โดยอาราธนาพระคณาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษมานั่งปรกปลุกเสก ณ พระอุโบสถวัดบรมนิวาส ๔๒ รูปคือ

พระเกจิคณาจารย์ อาทิ

-หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ,
-หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม,
-หลวงพ่อเฮี้ยง วัดอรัญญิกาวาส,
-หลวงพ่อนอ วัดท่าเรือ,
-หลวงพ่อมี วัดเขาสมอคอน,
-หลวงพ่อบี้ วัดลานหอย,
หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง,
-หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวัน,
-หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม,
-หลวงพ่อคำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์,
-หลวงพ่อทอง วัดถ้ำจักกระจั่น,
-หลวงพ่อทรงชัย วัดพุทธมงคลนิมิตร,
-หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์,
-หลวงพ่อบัว วัดป่าพรสถิตย์,
-หลวงพ่อถวัล วัดหนองบัวทอง,
-หลวงพ่อวงษ์ วัดปริวาส,
-หลวงพ่อชื่น วัดตำหนักเหนือ,
-หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร,
-หลวงพ่ออินทร์ วัดโบสถ์,
-หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว,
-หลวงพ่อทบ วัดชนแดน

สายพระกรรมฐานอาทิ

-หลวงปู่เทสก์ วัดหินหมากเป้ง,
-หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล,
-หลวงพ่อบุญมา วัดป่าสาลวัน,
-หลวงพ่อจันทร์ วัดศรีภูเวียง,
-หลวงปู่สิม วัดสันติธรรม,
-หลวงพ่อบัว วัดหนองแซง,
-หลวงพ่อคำพอง วัดราษฎร์โยธี,
-หลวงพ่อคำไหม วัดอรุณรังสี,
-หลวงพ่อคำผิว วัดป่าหนองแซง,
-หลวงพ่อวิริยังค์ วัดธรรมมงคล,
-หลวงปู่ตื้อ วัดอโศการาม,
-พระอาจารย์ฝั้น วัดถ้ำขาม,
-พระอาจารย์จวน วัดภูทอก,
-พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงค์,

ซึ่งหลังเสร็จพิธีแล้วได้นำไปให้พระคณาจารย์ที่เป็น “พระอริยสงฆ์” ทำการปลุกเสกเดี่ยวอีก ๒ รูป คือ
-หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง
-เจ้าคุณนรรัตนฯ วัดเทพศิรินทร์

“พระกริ่งสิทธัตโถ” จึงนับเป็นพระกริ่งที่สร้างสมบูรณ์แบบด้วยพิธีกรรมและการปลุกเสก นับเป็นพระกริ่งในช่วงปีสองพันห้าร้อยที่น่าสักการบูชาอีกรุ่น เพราะมีความศักดิ์สิทธิ์และมีประสบการณ์ให้ประจักษ์มาแล้วหลายครั้ง ซึ่งสามารถปกป้องคุ้มครองภัยอันตรายนานาประการได้ อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง
ผู้เข้าชม
2661 ครั้ง
ราคา
บัวชมพู
สถานะ
โชว์พระ
โดย
ชื่อร้าน
บัวชมพู พระเครื่อง
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
buachomphu9
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
ยังไม่ส่ง ข้อมูลยืนยันตัวตน

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
Muthitaอ้น อักขระphermsakponsrithong2ปราสาทมรกตep8600
Paphon07ภูมิ IRfuchoo18หริด์ เก้าแสนErawanตรี ปากจั่น
somemanBAINGERNอ้วนโนนสูงNongBossโกหมูแมวดำ99
Aofdantaijochoaofkolokpoop2015จิ๊บพุทธะมงคลtermboon
tangmodigitalplusArt.thanathonว.ศิลป์สยามLe29Amuletgofubon

ผู้เข้าชมขณะนี้ 1558 คน

เพิ่มข้อมูล

พระกริ่งสิทธัตโถรุ่นแรก๒๕o๘ พิมพ์แต่งสวยมากพร้อมกล่องเดิม




  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
พระกริ่งสิทธัตโถรุ่นแรก๒๕o๘ พิมพ์แต่งสวยมากพร้อมกล่องเดิม
รายละเอียด
พระกริ่งสิทธัตโถ วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร มีการจัดสร้าง๕ครั้งคือ๒๕o๘,๒๕๑o,๒๕๑๒,๒๕๑๖,๒๕๑๗องค์นี้คือรุ่นแรก ๒๕o๘พิมพ์แต่งเดิมๆ สภาพสวยมาก หายากสุดๆ มาพร้อมกล่อง...สร้างขึ้นเมื่อปี ๒๕๐๘ โดย “พระธรรมวกลังการ วัดเพชรวราราม” จังหวัดเพชรบูรณ์เมื่อครั้งเป็น “พระมหาชลอ กิตติ สาโร” และจำพรรษาอยู่ที่ วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพฯ ท่านเป็นชาวบ้านหนองหลวงจังหวัดลพบุรี จึงมีเจตนาในการสร้างพระกริ่งเพื่อหาทุนไปพัฒนา วัดหนองหลวง โดยในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ได้เตรียมการสร้าง “พระกริ่งสิทธัตโถ” โดยมี พระครูสังฆบริรักษ์ (มโนรมย์ วีรญาโณ) คณะหอเขียว วัดบรมนิวาส เป็นผู้ช่วยเหลือในด้านพิธีกรรมต่าง ๆ แต่ไม่อาจสำเร็จได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วจึงได้แต่เตรียมการไว้ตลอดกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๕๐๘ จึงสำเร็จโดยได้มีหนังสือกราบทูล สมเด็จพระสังฆราช (อยู่) วัดสระเกศ ขอประทานชื่อพระกริ่งและฤกษ์เททองพร้อมกันด้วยซึ่ง สมเด็จพระสังฆราช (อยู่) วัดสระเกศ ประทานชื่อพระกริ่งที่สร้างว่า “พระกริ่งสิทธัตโถ” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้ประทาน ความสำเร็จ”

***การประกอบพิธีครั้งนั้นนับว่าเป็นพิธีมโหฬารทีเดียวเพราะมีการประกอบพิธีทั้งทาง “พุทธศาสตร์, พราหมณ์ศาสตร์, โหราศาสตร์ และ ไสยศาสตร์ ครบถ้วนถูกต้องตำราการสร้างพระกริ่งทุกประการ นอกจากนี้ยังได้อาราธนาพระคณาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษทางวิทยาคม และทางวิปัสสนาที่มีชื่อเสียง นั่งปรกปลุกเสก บริกรรมภาวนาถึง ๔๒ รูป นอกจากนี้ยังมีพระคณา จารย์ผู้ทรงคุณวิเศษทำการลง พระยันต์ ๑๐๘ และ นะปถมัง ๑๔ นะ ในแผ่นนวโลหะตามพิธี การสร้างพระกริ่งเพื่อให้องค์ “พระกริ่งสิทธัตโถ” นี้มีคุณานุภาพยิ่งขึ้นจึงได้นำแผ่นโลหะอีกส่วนหนึ่งถวายเจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราช, สมเด็จพระราชาคณะ และ พระมหาเถรานุเถระ ที่ล้วนแต่เป็นพระราชาคณะทั้งสิ้นรวม ๑๐๘ รูป ทรงลงอักขระเลขยันต์นอกจากนั้นพระอาจารย์เจ้าผู้ทรงคุณวิเศษ ในทางวิทยาคมอีกหลายรูป อาทิ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม และ หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม นครปฐมเป็นต้นพร้อมได้เมตตาลงอักขระเลขยันต์ ในแผ่นโลหะให้เป็นพิเศษอีกส่วนหนึ่งด้วยและอีกประการหนึ่งเพื่อให้องค์ “พระกริ่งสิทธัตโถ” มีคุณานุภาพเป็นพิเศษยิ่งขึ้นจึงได้เลือกประกอบพิธี พร้อมส่วนประกอบอื่น ๆ ที่เป็นสัญลักษณ์ในทางต่าง ๆ อีกดังนี้
----------------------------------------------

๑. นอกจากพระอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษทางวิทยาคมและทางวิปัสสนา ซึ่งมีจำนวนถึง ๔๒ รูป ดังกล่าวแล้วยังได้อาราธนาพระอาจารย์ผู้มีชื่อเป็นมงคลนามนั่งปรกปลุกเสกอีกดังนี้คือ หลวงพ่อมี, หลวงพ่อแก้ว, หลวงพ่อแหวน, หลวงพ่อเงิน, หลวงพ่อทอง, หลวงพ่อนาค ทั้งนี้เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นผู้มีโชคลาภแก้วแหวนเงินทองสำหรับผู้ที่มี “พระกริ่งสิทธัตโถ” ไว้สักการะ
-----------------------------------------------
๒. องค์ประธานในการเททองก็ดี พระสงฆ์ผู้เจริญชัยมงคลคาถาในเวลาเททองก็ดีล้วนแต่เป็น สมเด็จพระราชาคณะ และ พระราชาคณะที่เป็นเปรียญ ๙ ประโยค ทั้งสิ้นและวันที่สร้างพระกริ่งตรงกับวันขึ้น ๙ ค่ำ แล้วเริ่มแจกให้แก่ผู้สั่งจองในวันอาทิตย์ที่ ๙ พ.ค. ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๙ ค่ำเช่นกัน องค์พระกริ่งประทับนั่งบนบัลลังก์เหนือบัวคว่ำบัวหงาย ๙ กลีบ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ใน ทางก้าวหน้า ความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน ที่เป็น ไปโดยชอบธรรม
-----------------------------------------------
๓. ผู้ที่ลงอักขระเลขยันต์อีกส่วนหนึ่งที่นอก เหนือจากพระอาจารย์เจ้าผู้ทรงคุณวิเศษก็คือ สมเด็จพระสังฆราช, สมเด็จพระราชาคณะ และ พระมหาเถรานุเถระ ก็ล้วนแต่เป็น พระราชาคณะ ซึ่งเจริญด้วยยศศักดิ์ทั้งสิ้น รวม ๑๐๘ รูป ทั้งนี้เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรืองด้วยยศศักดิ์ พรั่งพร้อมด้วยทรัพย์สฤงคารและบริวารชนเป็นต้น
********
“พระกริ่งสิทธัตโถ” ทำการประกอบพิธีเททองหล่อเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๐๘ นั้น หลังจากตกแต่งเรียบร้อยแล้วได้จัดงานสมโภช โดยอาราธนาพระคณาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษมานั่งปรกปลุกเสก ณ พระอุโบสถวัดบรมนิวาส ๔๒ รูปคือ

พระเกจิคณาจารย์ อาทิ

-หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ,
-หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม,
-หลวงพ่อเฮี้ยง วัดอรัญญิกาวาส,
-หลวงพ่อนอ วัดท่าเรือ,
-หลวงพ่อมี วัดเขาสมอคอน,
-หลวงพ่อบี้ วัดลานหอย,
หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง,
-หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวัน,
-หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม,
-หลวงพ่อคำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์,
-หลวงพ่อทอง วัดถ้ำจักกระจั่น,
-หลวงพ่อทรงชัย วัดพุทธมงคลนิมิตร,
-หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์,
-หลวงพ่อบัว วัดป่าพรสถิตย์,
-หลวงพ่อถวัล วัดหนองบัวทอง,
-หลวงพ่อวงษ์ วัดปริวาส,
-หลวงพ่อชื่น วัดตำหนักเหนือ,
-หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร,
-หลวงพ่ออินทร์ วัดโบสถ์,
-หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว,
-หลวงพ่อทบ วัดชนแดน

สายพระกรรมฐานอาทิ

-หลวงปู่เทสก์ วัดหินหมากเป้ง,
-หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล,
-หลวงพ่อบุญมา วัดป่าสาลวัน,
-หลวงพ่อจันทร์ วัดศรีภูเวียง,
-หลวงปู่สิม วัดสันติธรรม,
-หลวงพ่อบัว วัดหนองแซง,
-หลวงพ่อคำพอง วัดราษฎร์โยธี,
-หลวงพ่อคำไหม วัดอรุณรังสี,
-หลวงพ่อคำผิว วัดป่าหนองแซง,
-หลวงพ่อวิริยังค์ วัดธรรมมงคล,
-หลวงปู่ตื้อ วัดอโศการาม,
-พระอาจารย์ฝั้น วัดถ้ำขาม,
-พระอาจารย์จวน วัดภูทอก,
-พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงค์,

ซึ่งหลังเสร็จพิธีแล้วได้นำไปให้พระคณาจารย์ที่เป็น “พระอริยสงฆ์” ทำการปลุกเสกเดี่ยวอีก ๒ รูป คือ
-หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง
-เจ้าคุณนรรัตนฯ วัดเทพศิรินทร์

“พระกริ่งสิทธัตโถ” จึงนับเป็นพระกริ่งที่สร้างสมบูรณ์แบบด้วยพิธีกรรมและการปลุกเสก นับเป็นพระกริ่งในช่วงปีสองพันห้าร้อยที่น่าสักการบูชาอีกรุ่น เพราะมีความศักดิ์สิทธิ์และมีประสบการณ์ให้ประจักษ์มาแล้วหลายครั้ง ซึ่งสามารถปกป้องคุ้มครองภัยอันตรายนานาประการได้ อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง
ราคาปัจจุบัน
บัวชมพู
จำนวนผู้เข้าชม
2682 ครั้ง
สถานะ
โชว์พระ
โดย
ชื่อร้าน
บัวชมพู พระเครื่อง
URL
เบอร์โทรศัพท์
089-1372234
ID LINE
buachomphu9
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
ยังไม่ส่ง ข้อมูลยืนยันตัวตน




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี